โบราณสถานพงตึก กรมศิลปากรขุดค้นพบโบราณสถานพงตึก เมื่อ พ.ศ. 2470 หลักฐานทางโบราณคดีที่พบแสดงให้เห็นว่าเมืองโบราณพงตึก เป็นศิลปะแบบทวารวดีและได้รับอิทธิพลจากศิลปะอินเดียแบบคุปตะ มีอายุอยู่ในราวพุทธศวรรษที่ 11-12 บริเวณโบราณสถานพงตึกพบซากโบราณสถานที่สร้างด้วยอิฐและศิลาแลงตลอดจนโบราณวัตถุจำนวนมาก
เช่นตะเกียงแบบกรีก-โรมันสำริด พระพิมพ์ดินเผา พระนารายณ์สลักจากศิลาและภาชนะดินเผาแบบต่างๆ
โบราณสถานพงตึกในอดีตเป็นเมืองโบราณที่เจริญรุ่งเรืองเมื่อพันกว่าปีก่อน ชาวเมืองนับถือศาสนาพุทธและพราหมณ์ตัวเมืองตั้งอยู่บนเส้นทางคมนาคมสำคัญบนเส้นทางจากประเทศอินเดียสู่ดินแดนทางตะวันออกผ่านภาคใต้ของประเทศพม่าเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์
เป็นเมืองที่พักของคนเดินทางเนื่องจากตั้งอยู่เกือบกึ่งกลางระหว่างเมืองสำคัญในสมัยโบราณ ประกอบด้วย เมืองกาญจนบุรีและเมืองราชบุรีเมืองราชบุรีและเมืองนครปฐม เมืองกาญจนบุรีและเมืองนครปฐม สาเหตุที่เมืองถูกทิ้งร้างสันนิษฐานว่าเพราะแม่น้ำเปลี่ยนทางเดิน ซึ่งมีผลทำ
เมืองพงตึกเป็นเมืองโบราณก็ปรักหักพังซึ่ง ในปัจจุบันจึงไม่ปรากฏว่ามีร่อยรอยของซากโบราณสถานสมัยทวาราวดี (พ.ศ.1000 – 1200) เหลืออยู่บนพื้นดินเลย แต่ถ้าขุดลงไปใต้พื้นดินแล้ว จะพบรากฐานปูชนียสถานต่าง ๆจมฝังดินอยู่เกลื่อนกลาดไปหมด แม้กะโหลกศีรษะคนและเครื่องใช้ต่าง ๆ ในสมัยนั้นก็ได้พบที่บริเวณนี้เป็นจำนวนมากให้ตัวเมืองบางส่วนถูกทำลายและทำให้เส้นทางการเดินทางบกเปลี่ยนไปด้วย